เมื่อไม่กี่วันก่อน (22 มิถุนายน 2558) มีข่าวที่แชร์กันในโลกออนไลน์อยู่พอสมควรว่า “การติดเกม” หรือ “พฤติกรรมการติดเกม” ได้ถูกระบุลงใน ICD-11 (International Classification of Diseases-11th edition) หรือตำราวินิจฉัยขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization (WHO)) ว่า การติดเกมเป็นส่วนนึงของปัญหาสุขภาพจิต และเรียกชื่อว่า “Gaming Disorder” . พฤติกรรมการติดเกมนี่มันก็ถูกพูดถึงกันมาก่อนหน้านั้นแล้วโดยกลุ่มจิตแพทย์ และก็ระบุไว้ใน DSM-V (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders -5th Edition) หรือตำราวินิจฉัยอาการทางจิตที่มักใช้โดยจิตแพทย์กับนักจิตวิทยา แต่ในที่นี้มันจะถูกรวมเข้ากับกลุ่มพฤติกรรมการเสพติดอีกหลายๆ อย่าง (Behavioral addiction) เช่น การเสพติดการพนัน เป็นต้น และยังระบุอีกว่าเรื่องการติดเกมนี่เป็นสิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านี้ . งานวิจัยหลายชิ้นพยายามพิสูจน์องค์ประกอบของพฤติกรรมนี้ว่ามันต้องเป็นยังไงนะถึงจะเรียกว่าติดเกม และก็มีการสร้างแบบทดสอบพฤติกรรมการติดเกมในกลุ่มเด็กวัยรุ่นขึ้นมาโดย Lemmens ในปี 2009 ที่ชื่อว่า Game Addiction Scale for Ado-lescents (GAS) . ทำให้การบอกว่าความผิดปกติในเรื่องการติดเกมดูเหมือนว่าจะมีอยู่จริง เพราะแบบทดสอบของ Lemmens ก็ดูจะได้ผลดีพอเอาไปทดสอบในเด็กวัยรุ่นกลุ่มอื่นซ้ำๆ จนถึงขั้นที่ว่ามีคนเอาไปแปลในฉบับภาษาฝรั่งเศสและตุรกีด้วย . แต่ต่อมา Brunborg และคนอื่นๆ (2015) ก็เอาแบบทดสอบของ Lemmens มาวิเคราะห์ดูใหม่ แล้วก็พบว่าในพฤติกรรมการติดเกมเนี่ยตามแบบของ Lemmens เนี่ย ถ้าจะบอกว่าผิดปกติหรือเป็นปัญหา มันต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง ความไม่สบายใจเมื่อไม่ได้เล่น (withdraw), เมื่อกลับมาเล่นแล้วจะเล่นมากกว่าเดิม (relapse), เล่นมากจนเกิดปัญหาสัมพันธภาพ (conflict) และเกิดปัญหาในการทำงาน การเรียน และอื่นๆ (problem) เป็นปัจจัยหลักๆ ในขณะที่การเล่นเป็นกิจวัตรหลัก (salience), เล่นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ (tolerance) และรู้สึกดีเมื่อได้เล่นเกมเนี่ย (mood modification) มันเป็นเรื่องรองมากกว่า . หมายความว่าในการมองว่าจะผิดปกติมั้ยหรือเป็นปัญหามั้ย ควรที่จะให้ความสำคัญกับว่า การเล่นเกมในจำนวนเท่านั้นเท่านี้ในแต่ละวัน มันกำลังทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และสังคมรอบข้างรึเปล่า ยังสามารถควบคุมตนเองได้รึเปล่าในการเล่นเกม ถ้าการเล่นมาก เล่นเยอะ เล่นบ่อย แต่ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร ยังควบคุมตัวเองได้ ก็อาจจะยังไม่ได้น่าเป็นห่วงหรือจะต้องมาตื่นตูมกันไปขนาดนั้น .
ใน ICD-11 เองก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ในการระบุลงไปด้วยว่า ในแง่ของปัญหาสุขภาพจิตจะต้องเป็นการเล่นเกมที่มากเป็นกิจวัตรหลักของชีวิต ขาดการควบคุมตัวเอง และก็ต้องทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ความเครียด ปัญหาส่วนตัว ปัญหาครอบครัว ปัญหาในโรงเรียนหรือสังคม นอนไม่หลับ ขาดสารอาหาร ร่างกายอ่อนแอ ฯลฯ คือคนที่เล่นมันต้องรู้สึกว่าชีวิตพังในระดับนึงละ
. เพราะงั้นถ้าใครห่วงว่าคนรอบตัว,ลูกหลาน, หรือคนนั้นคนนี้ติดเกมรึเปล่า ต้องบำบัดมั้ย ต้องบังคับให้เลิกมั้ย ให้ดูก่อนว่ามันเป็นปัญหาอย่างที่ว่ามานี้รึเปล่า และการใช้อินเตอร์เน็ตกับการเล่นเกมมันก็ต้องแยกจากกันด้วย เพราะการใช้อินเตอร์เน็ตมากๆ มันอาจเกี่ยวข้องกับการใช้เพื่อการศึกษาหรือจุดประสงค์อื่นๆ รวมอยู่ด้วย ควรจะค่อยๆ ทำความเข้าใจจุดประสงค์ของแต่ละพฤติกรรมเป็นรายบุคคลไปเป็นพื้นฐานตั้งต้น และอาจจะช่วยให้ค่อยๆ คิด ค่อยๆ พิจารณากันว่าอะไรดี ไม่ดียังไงด้วยตัวเอง . เก้าอี้ตัว J เจษฎา กลิ่นพูล . อ้างอิง Brunborg, G. S., Hanss, D., Mentzoni, R. A., & Pallesen, S. (2015). Core and peripheral criteria of video game addiction in the game addiction scale for adolescents. Cyberpsychology, Behavior, and Social Networking, 18(5), 280-285.
Gaetan, S., Bonnet, A., Bréjard, V., & Cury, F. (2014). French validation of the 7-item Game Addiction Scale for adolescents. Revue Européenne de Psychologie Appliquée/European Review of Applied Psychology, 64(4), 161-168.
Griffiths, M. D. (2016). Internet gaming disorder vs. internet addiction disorder: IGD and IAD are not the same. Psychology Today. Retrieved from https://www.psychologytoday.com/us/blog/in-excess/201607/internet-gaming-disorder-vs-internet-addiction-disorder
ILGAZ, H. (2015). Adaptation of Game Addiction Scale for Adolescents into Turkish. Elementary Education Online, 14(3), 874-884.
Lemmens, J. S., Valkenburg, P. M., & Peter, J. (2009). Development and validation of a game addiction scale for adolescents. Media Psychology, 12(1), 77-95.
Sarkar, S. (2018). Gaming disorder’ classified as a mental health condition, but is the move premature?: Many scientists continue to be skeptical. Retrieved from https://www.polygon.com/2018/6/19/17475632/video-game-addiction-gaming-disorder-who-icd-11
Scutti, S. (2018). WHO classifies 'gaming disorder' as mental health condition. CNN. Retrieved from https://edition.cnn.com/2018/06/18/health/video-game-disorder-who/index.html
World Health Organization. (2018). Gaming disorder. Retrieved from http://www.who.int/features/qa/gaming-disorder/en/
Comentarios