top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPsychologist Chair

เด็กกับการฝึก Mindfulness

Mindfulness - ก่อนเข้าเรียนจิตวิทยาใน ป.ตรี เราก็มีความสนใจในระดับนึงเลยต่อการนั่งสมาธิหรือเจริญสติ เราก็ฝึกกับตัวเองเพราะทุกครั้งที่ฝึกมันทำให้เราสงบและเหมือนได้พักอยู่บ่อยครั้ง พอเข้าเรียนใน ป.ตรี เราได้มารู้จักกับคำว่า mindfulness เป็นครั้งแรก พอไปใช้ google translate ก็ได้ความหมายว่า สติ

.

ในตอนนั้น เราก็ว่าน่าสนใจดีที่ที่ฝั่งตะวันตกให้ความสนใจกับคำคำนี้ ด้วยความอยากเข้าใจเราเลยไปหาข้อมูลของคำคำนี้ในหลายเว็ป เราเลยพบว่า มันเป็นหลักการอย่างหนึ่งซึ่งรากที่มาจริงๆ มากจากแนวคิดของพุทธ แล้วในแต่ละเว็ปให้นิยามที่ค่อนข้างต่างกัน แต่ว่ามีนักวิชากการคนนึงที่ชื่อคุณ John Kabat-zinn ซึ่งเค้าเป็นคนที่นำเรื่องของ Mindfulness เข้ามาจัดโปรแกรม

.

เค้าศึกษาด้านนี้แล้วได้นำหลัก Mindfulness มาจัดเป็นโปรแกรม ในโปรแกรมฝึกสำหรับคนทั่วไปอย่าง Mindfulness-Based stress reduction (MBSR) เพื่อช่วยเหลือคน เค้าได้อธิบายว่า มันเป็นการตระหนักรู้ในประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในแต่ละขณะที่ผ่านไป ทั้งภายในและภายนอก โดยไม่ตัดสิน (Kabat-Zinn, 2003) ศึกษาไปมาพบว่า หลักการนี้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในทฤษฎีบำบัด โปรแกรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต รวมถึงบางโรงเรียนให้เด็กมีโอกาสฝึก mindfulness เพราะเป็นประโยชน์ในหลายๆด้าน (Corey, 2018)

.

ประโยชน์ - หลังจากศึกษาข้อมูลไปซักพัก เราพบว่าการฝึก mindfulness เป็นประจำและอย่างต่อเนื่องมีประโยชน์มาก mindfulness มันช่วยในเรื่องของการลดความเครียด ความกังวล อารมณ์ในแง่ลบ สร้างความสัมพันธ์ ช่วยในเรื่องการตอบสนองในสถานการณ์ที่เครียดและอีกหลายๆอย่าง (Davis & Hayes, 2011)

.

การฝึก mindfulness เนี่ยมันมีความไม่ธรรมดาอย่าง มันสามารถส่งผลถึงโครงสร้างและการทำงานของสมองได้ด้วย เค้าพบเลยว่า คนที่ฝึก mindfulness เป็นประจำเนี่ย สมองส่วน cerebal cortex มันได้รับเลือดมากขึ้น แล้วไอ้สมองส่วนเนี้ยมันเกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้ ความใส่ใจในการทำสิ่งต่างๆ การควบคุมการกระทำ และ amygdala ที่มันเป็นสมองที่ขึ้นชื่อเรื่อง ความก้าวร้าว อารมณ์ที่ไม่ดีต่างๆ เช่นกลัว กังวลเนี่ย มันมีการตอบสนองที่ลดลง นอกจากนั้น เนื้อเยื่อบางส่วนของ amygdala มีความหนาแน่นลดลงด้วย (Davidson & Lutz, 2008)

.

ส่วนในเด็ก มันมีงานวิจัยตัวนึงของ Katheraine Weare (2012) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลการสำรวจ เด็กและวัยรุ่นที่เข้าโปรแกรม mindfulness หรือที่มี mindfulness เข้ามาเกี่ยวข้อง เด็กและวัยรุ่นเหล่านั้นมีการพัฒนาในด้านต่างๆ ของชีวิต ทั้งการนอนมีคุณภาพ ความเครียด ความกังวลลดลง ดูแลตัวเองมากขึ้น ความสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวดีขึ้น รวมถึงมีการยับยั้งชั่งใจและพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง คุณ Weare เนี่ยเลยสรุปว่า mindfulness เนี่ยมีประโยชน์จริงสำหรับเด็กและวัยรุ่น

.

การสอนเด็ก - ถ้าจะฝึก mindfulness ให้เด็กมันก็ไม่ยาก หลักง่ายๆสามหลักที่อยากแนะนำเวลาให้เด็กฝึก (Peacock, 2015)

1. ระยะเวลาต้องสั้น เด็กเค้าจดจ่ออะไรไม่นาน เดี๋ยวเบื่อก่อน ดังนั้นให้ฝึกทีละนิดจนชินแล้วค่อยๆเพิ่ม เช่น อาจให้เด็กฟังเสียงสิ่งต่างๆ 30 วินาที พอผ่านไปซักระยะ อาจเพิ่มเป็น 1 นาที ซึ่งขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน

2. ใช้คำง่ายๆ สั้นๆ และต้องไม่ให้เด็กรู้สึกเครียดหรือกดดัน

3. อาจใช้กิจกรรม หรือ อุปกรณ์ต่างๆที่เด็กชอบ เช่น ดินน้ำมัน ระบายสี เต้นรำ และจะดีมากถ้าเป็นสิ่งที่เด็กคนนั้นให้ความสนใจอยู่แล้ว แต่คนที่สอนนั้นต้องระลึกอยูเสมอว่า กิจกรรมต้องเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เด็กระลึกกับปัจจุบันและสำรวจ ความคิด ความรู้สึก ร่างกายและสิ่งที่กำลังทำอยู่

นอกจากนั้น ยังมีการแนะนำกิจกรรมในแบบสั้นๆว่า อาจเริ่มให้เด็ก หายใจเข้าออกช้าๆลึกๆ และฟังเสียงที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ แล้วเขียนว่า ได้ยินเสียงอะไรบ้าง หรือดมกลิ่นสิ่งที่ไม่เป็นอันตราย เช่นผลไม้ หรืออาหาร แล้วให้บอกว่ารู้สึกยังไง ชอบไม่ชอบ

.

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้เขียนมองว่า ผู้ปกครองหรือครู ควรมีความเข้าใจในสภาวะต่างๆของเด็ก เพื่อปรับหลักการต่างๆให้เหมาะกับเด็กให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

.

ดรัณภพ บุญคุ้มสวัสดิ์

.

.

Reference

Burke, C. (2010). Mindfulness-based approaches with children and adolescents: A preliminary review of current research in an emergent field. Journal of Child and Family Studies, 19, 133-144.

Corey, G. (2018). Theory and practice of counseling and psychotherapy (10th ed.). Boston: Cengage Learning.

Davidson, R. & Lutz, A. (2008). Buddha's brain: neuroplasticity and meditation. IEEE Signal Process Mag, 25(1), 176-174.

Davis, D. M. & Hayes, J. A. (2011). What are the benefits of mindfulness? A practice review of psychotherapy-related research. Psychotherapy: Theory/Research/Practice/Training, 48(2), 198-208.

Hölzel, B.K., Carmody, J., Vangel, M., Congleton, C., Yerramsetti, S.M., Gard, T. & Lazar, S.W. (2011). Mindfulness practice leads to increases in regional brain gray matter density. Psychiatry Research Neuoroimaging, 191(1).

Kabat-Zinn, J. (2003). Mindfulness-based interventions in context: Past, present and future. Clinical Psychology: Science and Practice, 10(2), 144-156.

Peacock, J. (2015). Mindfulness Practices and Children’s Emotional and Mental Well-Being: Activities to Build and Strengthen Everyday Resilience Adapted for Primary School Teachers (Master’s thesis). Retrieved from https://www.semanticscholar.org/

Weare, K. (2012). Evidence for the Impact of Mindfulness on Children And Young People. Retrieved from www.mindfulnessinschool.org

ดู 25 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page