.
หลังจากที่ผมพูดถึงเรื่องสัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) กับสัญชาตญาณในการรักษาตัวตน (ego instinct) ในบทความก่อนหน้า มันก็ทำให้นึกไปได้อีกว่าความขัดแย้งของทั้งสองสัญชาตญาณนี้มีความโรแมนติกอยู่เหมือนกัน
.
กล่าวโดยสรุปซ้ำกันอีกรอบ Freud ได้พูดถึงสัญชาตญาณทั้งสองนี้ครั้งแรกในหนังสือ Beyond the pleasure principle และยกตัวอย่างของสัตว์เซลล์เดียวมาอธิบายความขัดแย้งกันของสัญชาตญาณทั้งสอง
.
ในแง่มุมหนึ่ง สัญชาตญาณทางเพศ (sexual instinct) เห็นได้จากการสืบพันธ์ของเซลล์ที่พยายามหลอมรวมกันเป็นหนึ่ง แต่การมีปฏิสัมพันธ์กันของเซลล์ทั้งสองกลับนำมาสู่การเสื่อมหรือความตายที่ไวขึ้น ซึ่งในทางตรงข้าม การไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเซลล์อื่นกลับทำให้มีอายุยืนยาวกว่าคล้ายกับมีสัญชาตญาณของการรักษาชีวิตเป็นตัวตั้งต้น
.
ในแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ผมไม่แน่ใจว่ามันสมเหตุสมผลมากน้อยแค่ไหน แต่งานเขียนของ Freud ชิ้นนี้ก็ไม่ได้ดูจะได้รับการยอมรับในฐานะนักวิทยาศาสตร์มากนักแม้จะมีความพยายามยกตัวอย่างทางชีววิทยาก็ตาม
.
สิ่งที่เห็นได้จากความขัดแย้งระหว่างสัญชาตญาณทั้งสองที่ Frued เลือกเรียกชื่อสัญชาตญาณในการรักษาชีวิตว่า ego-instinct (สัญชาตญานของ ego หรือการรักษา ego ไว้) บ่งบอกว่าหลวมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งอื่น/คนอื่นอาจเป็นสิ่งที่ทำให้การพยายามรักษาอีโก้ของตัวเราลดลง เพราะมันคือการยอมสละได้แม้กระทั่งชีวิตของตัวเอง
.
นี่ทำให้ผมนึกถึง 'porcupine's dilemma' หรือที่ผมเรียกว่า 'ความกระอักกระอ่วนของเจ้าเม่น'
.
มันเป็นสิ่งที่ใช้เปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบลึกซึ้งด้วยความรักของเม่นน้อยคู่หนึ่งในอากาศหนาว เมื่ออากาศหนาวมาถึง เจ้าเม่นทั้งสองต้องการความอบอุ่นจากอ้อมกอด แต่ทุกครั้งที่มันเข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็ต้องเจ็บปวดจากขนหนามของอีกฝ่าย เช่นเดียวกัน มันก็ทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวดด้วยเข็มของมันด้วย
.
การเข้าใกล้กันจนแทบจะหลวมรวมกลายเป็นคนคนเดียวกันอย่างความรักอาจเป็นการที่เราต้องยอมเจ็บปวดด้วยกันทั้งสองฝ่าย และในแง่หนึ่ง มันคือการที่เราต่างยอมลดอีโก้ของตัวเองลงแม้นั่นจะทำให้เราต้องรู้สึกหวาดกลัวและวิตกกังวลอย่างหนัก
.
Homayounpour กล่าวด้วยทฤษฎีของ Lacan ว่า ความวิตกกังวลเกินรับไหวไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อเราค่อยๆ ห่างจากอีกฝ่าย แต่เกิดขึ้นเมื่อเรารู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้นต่างหาก
.
บางที นั่นอาจเป็นสิ่งที่เราต้องแบกรับเมื่อคิดจะมีรัก
.
เจษฎา กลิ่นพูล
K.Therapeutist นักจิตวิทยาการปรึกษา
Comments