top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPsychologist Chair

ร่างมาตรฐานคุณสมบัตินักจิตวิทยาการปรึกษา (18 ธันวาคม 2564)

. ในวันนี้ (18 ธันวาคม 2564) สมาคมจิตวิทยาการปรึกษา ได้เผยให้เห็นร่างมาตรฐานคุณสมบัตินักจิตวิทยาการปรึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อรายงานความก้าวหน้าของมาตรฐานวิชาชีพฯ ให้เราได้เห็นในงานประชุมวิชาการสมาคมจิตวิทยาการปรึกษา ครั้งที่ 4 ประจำปี 2564 ซึ่งมีรายละเอียดหลักดังนี้ . ปัจจุบัน ร่างมาตรฐานดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของการยกร่างก่อนที่จะนำไปสู่การทำ focus group เพื่อทำเป็นร่างฉบับสมบูรณ์ต่อไป ทั้งนี้ คณะทำงานมีแนวคิดในการร่างมาตรฐานคุณสมบัตินักจิตวิทยาการปรึกษา ได้แก่ - มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและสะท้อนเอกลักษณ์ของนักจิตวิทยาการปรึกษาไทย - มีความครอบคลุมกับการปฏิบัติตามแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการปรึกษาที่มีความหลากหลาย - มีความชัดเจนในการสื่อสารถึงจุดมุ่งเน้นของงานนักจิตวิทยาการปรึกษาตามหมวดหมูที่ตั้งไว้ - มีการคำนึงถึงความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบอื่นของวิชาชีพ ได้แก่ จรรยาบรรณ มาตรฐานหลักสูตร และมาตรฐานการปฏิบัติงาน . อีกทั้ง การจัดทำมาตรฐานคุณสมบัติถูกจัดทำขึ้นโดยมีแนวทางการวัดมาตรฐานร่วมด้วย ซึ่งประกอบไปด้วยการสอบวัดความรู้, การยื่น portfolio หรือเอกสารตามที่กำหนด (เช่น transcript จากหลักสูตรที่เปิดสอนในภาคีเครือข่ายของสมาคมฯ), และ การเก็บ CEU หรือ Continuing Education Unit ซึ่งเป็นการเข้ารับการฝึกอบรมจากหลักสูตรที่เปิดสอนในภาคีเครือข่ายที่ได้รับรอง หรือ เข้าร่วมการทำกิจกรรมเชิงวิชาการอื่น เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตน และการตีพิมพ์บทความวิชาการ เป็นต้น *แนวทางการวัดมาตรฐานเหล่านี้จะถูกใช้พิจารณาแตกต่างกันไปตามแต่ละองค์ประกอบของคุณสมบัติ เช่น อาจใช้เพียงการสอบวัดความรู้หรือยื่น Portfolio ในบางคุณสมบัติย่อย . สำหรับ 'ร่างมาตรฐานคุณสมบัติของนักจิตวิทยาการปรึกษา' ที่ออกมาให้เห็นตอนนี้มีองค์ประกอบทั้งสิ้น 5 ด้าน ประกอบด้วย . 1. มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพนักจิตวิทยาการปรึกษา


1.1 หลักจรรยาบรรณและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ, กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการสุขภาพจิต, การปฏิบัติงานตามหลักจรรยาบรรณ) 1.2 ความรับผิดชอบต่อตนเอง

(การรักษาสุขภาวะของตน, การแสวงหาความช่วยเหลือ) 1.3 ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพและสังคม

(ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ปรัชญา และหลักการสำคัญของวิชาชีพ, ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบภายใต้บริบทสังคมไทย, แสดงบทบาทในการส่งเสริมบทลาทต่อสังคมของนักวิชาชีพ) 1.4 การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

(พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง, ทบทวนตนเองหรือการนิเทศ, ค้นหาองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ, อ่านและทำความเข้าใจผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง) . 2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการปรึกษา


2.1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาพื้นฐาน

(จิตวิทยาทั่วไป, จิตวิทยาการเรียนรู้, จิตวิทยาอปกติ, อคติและการจัดการอคติ) 2.2 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการปรึกษาแบบรายบุคคล

(ทฤษฎีและรูปแบบการปรึกษา, ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเชิงรักษา, ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยและขั้นตอนในการปรึกษาแบบพบหน้าหรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์) 2.3 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการปรึกษาแบบรายกลุ่ม

(ทฤษฎีและรูปแบบการปรึกษา, ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเชิงรักษา, ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มปละพัฒนาการของกลุ่ม, ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยและขั้นตอนในการปรึกษาแบบกลุ่ม) 2.4 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพจิต

(กระบวนการส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาวะทุกช่วงวัย, การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและจิตบำบัด, การจัดการภาวะวิกฤติและบาดแผลทางใจ, การป้องกันการฆ่าตัวตาย) 2.5 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติ การวิจัย และการใช้เครื่องมือวัดทางจิตวิทยา

(สถิติพื้นฐาน, กระบวนการวิจัย, เครื่องมือวัดทางจิตวิทยา, การรายงานผลการวัด) . 3. สามารถใช้ทักษะและกลวิธีในการดำเนินกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยา


3.1 ทักษะและกลวิธีในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายบุคคล

(สัมภาษณ์, ซักประวัติและคัดกรอง, ทักษะพื้นฐานการปรึกษา, การใช้เทคนิค, การทำ case conceptualization, การประเมินผลการปรึกษา, ทักษะการบริหารจำนวนงาน, การ consultation) 3.2 ทักษะและกลวิธีในกระบวนการปรึกษาเชิงจิตวิทยารายกลุ่ม

(วางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์กลุ่ม, ทักษะการเป็นผู้นำกลุ่ม, การใช้เทคนิคและวิธีการปรึกษา, การประเมินผลการปรึกษา) 3.3 ทักษะทั่วไปของนักจิตวิทยาการปรึกษา

(สร้างและรักษาสัมพันธภาพในการให้บริการ, การสังเกตและประเมินความเสี่ยง, แจ้งและรายงานการประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม) . 4. ทำงานร่วมกับสหวิชาชีพได้


*กรณีนี้อาจขึ้นอยู่กับสถานที่ทำงานของนักจิตวิทยา . 5. มีประสบการณ์ฝึกงานวิชาชีพจิตวิทยาการปรึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหรือหลังบัณฑิตศึกษาอย่างน้อย 1,000 ชั่วโมง


5.1 ประสบการณ์การให้บริการโดยตรง หรือ Direct service hour

(400 ชั่วโมง = รายบุคคล+รายกลุ่ม+งานลักษณะอื่นๆ ตามที่กำหนด) 5.2 ประสบการณ์ทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโดยตรง หรือ Indirect service hour

(การนิเทศ 100 ชั่วโมง และ 'อื่นๆ' อีกจนกว่าจะครบ 1,000 ชั่วโมงตามข้อ 5)

*'อื่นๆ' ได้แก่ การทำงานทั่วไปในสถานที่ฝึก, การเตรียมตัวการให้บริการ, การให้บริการทางวิชาการหรือบริการทางสังคม, เป็นสมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 10 ชั่วโมงภายใน 1 ภาตการศึกษา, เป็นผู้นำกลุ่มร่วมในระหว่างวิชา เป็นต้น . ทั้งนี้ คณะทำงานกล่าวว่าในด้านทฤษฎีและเทคนิคของการปรึกษา รวมทั้งการทำ case conceptualization ไม่ได้จำกัดแนวคิด และในด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องสถิติและการวิจัยไม่ได้มุ่งเน้นที่การเป็นนักวิจัย เพียงแต่มุ่งเน้นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจการวิจัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเท่านั้น . นอกจากนี้ ในแนวทางการวัดคุณสมบัติด้วย CEU ยังคงเป็นสิ่งที่ยังไม่แน่ชัด และต้องรอดูกันต่อไปว่าทางสมาคมจะกำหนดออกมาอย่างไรบ้าง เนื่องจากในบางกรณีอาจต้องใช้การเก็บ CEU ผ่านการเข้าอบรมสั้นๆ เพื่อวัดคุณสมบัติในประเด็นนั้นๆ . ในภาพรวมแล้ว ผมคิดว่านี่เป็นก้าวใหญ่ที่สำคัญสำหรับการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพนักจิตวิทยาการปรึกษาในประเทศไทย และคาดว่าเราอาจได้เห็นการมีใบประกอบวิชาชีพที่ใกล้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตครับ . เก้าอี้ตัว J เจษฎา กลิ่นพูล #นักจิตวิทยาการปรึกษา . ***เพิ่มเติม*** . ประสบการณ์ในการฝึกงานระดับบัณฑิตศึกษาหรือหลังบัณฑิตศึกษาที่กำหนดไว้ หมายถึง ตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป ซึ่งแท้จริงแล้วในปัจจุบันจะมีหลักสูตรป.โท-เอก จิตวิทยาการปรึกษาเพียงไม่กี่ที่ที่ได้ฝึกครบ 1,000 ชม.ตั้งแต่ภายในตัวหลักสูตร และในบางเกณฑ์คุณสมบัติก็ยังอาจไม่มีสอน จึงอาจต้องรอเรื่องการเก็บ CEU หรือการพอจารณาทางแก้ปัญหาอื่นๆ ของสมาคมต่อไป . สำหรับผู้ที่ศึกษาในระดับป.ตรี เดี๋ยวคงต้องรอดูกันอีกทีครับ

.



ดู 799 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentários


bottom of page