top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPsychologist Chair

ผู้รับบริการได้อะไรจากการมาปรึกษาและทำจิตบำบัด

.

ผู้รับบริการคนหนึ่ง ได้รู้ว่าสิ่งที่เขากังวลไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด


ผู้รับบริการคนหนึ่ง ได้รู้ว่าตัวเองได้ตัดสินใจเลือกไปแล้วแม้จะลังเล


ผู้รับบริการคนหนึ่ง รู้สึกมั่นใจมากขึ้นกับสิ่งที่ตัวเองเลือก


ผู้รับบริการคนหนึ่ง ได้นึกถึงสิ่งที่ตัวเองหลงลืมไปแล้ว


ผู้รับบริการคนหนึ่ง แทบไม่นึกถึงเรื่องราวเก่าๆ ก่อนจะสื่อว่าราวกับว่าตนได้รับการแก้ปมในใจ


ผู้รับบริการคนหนึ่ง พบว่าตัวเองได้มุมมองใหม่ที่ไม่เคยคิดถึงมาก่อน


ผู้รับบริการคนหนึ่ง พบว่าชีวิตตอนนี้ไม่ได้มีความสุขมากนัก แต่ก็ไม่ได้รู้สึกอยากตายอีกแล้ว

.

.

.

ผมพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะบอกอย่างชัดเจนได้ว่าผู้รับบริการจะได้รับอะไรกลับไปหลังจากได้ปรึกษากับนักจิตวิทยา


ปัญหาของผู้รับบริการแต่ละคนไม่เหมือนกัน


นักจิตวิทยาแต่ละคนเองก็มีแนวทางการทำงานที่ไม่เหมือนกัน


แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ปัญหาทุกรูปแบบเป็นปัญหาเหมือนกัน


ไม่มีปัญหาไหนที่ใหญ่กว่าปัญหาอื่น

และไม่มีปัญหาไหนที่ง่ายดายกว่าปัญหาอื่นเมื่อเราทำความเข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง

.

กระบวนการปรึกษาและทำจิตบำบัดยังคงต้องมีการทำงานกับปัญหาของผู้รับบริการแบบเดียวกัน


สำรวจ (explore)


สร้างความเข้าใจ (insight)


ส่งเสริมพฤติกรรม (action)


ทั้ง 3 ขั้นตอนมีความลดหลั่นกันไปตามแต่ละปัญหา แต่มันยังคงต้องใช้พลังกายพลังใจ (ของทั้งนักจิตวิทยาและผู้รับบริการ) ในการเดินหน้าไปตามกระบวนการเหล่านี้


'ความพึงพอใจกับผลลัพธ์' กลายเป็นจุดท้ายสุดของกระบวนการปรึกษา


มันไม่ใช่คำว่า 'ยอมแพ้'


เพราะทุกครั้งที่กระบวนการจบลงนั่นหมายถึงการ 'ตัดสินใจก้าวไปข้างหน้า' ของผู้รับบริการ

.

เก้าอี้ตัว J

เจษฎา กลิ่นพูล

#นักจิตวิทยาการปรึกษา

#เก้าอี้นักจิต

#นักจิตขอchair

.



ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page