.
การบอกว่าไม่ให้โหยหาอดีตคงเป็นอะไรที่แปลกซักหน่อยสำหรับนักจิตวิทยาแบบผมที่มักถามถึงเหตุการณ์ในอดีตของผู้รับบริการ
แต่การทำความเข้าใจอดีตที่ผ่านมากับการโหยหาอดีตนั้นไม่เหมือนกัน
.
การปรึกษาและจิตบำบัดแบบ psychoanalytic/ psychodynamic approach มักชวนให้ผู้รับบริการขุดคุ้ยอดีตของตัวเองจริง
แต่นั่นก็เพื่อให้เราได้เข้าใจที่มาที่ไปของปัญหา
ในขณะเดียวกัน สิ่งหนึ่งที่เราต้องระมัดระวังคือ
บางครั้งผู้รับบริการก็อาจใช้การพูดถึงอดีตของตัวเองซ้ำๆ เหล่านี้เพื่อปกป้องตัวเอง
.
สิ่งเหล่านี้คือภาพของการโหยหาอดีตที่กลับยิ่งตอกซ้ำความรู้สึกซึมเศร้าและหมดสิ้นหนทาง
ราวกับว่าสมองของเราถูกกระตุ้นซ้ำให้จมกับอารมณ์ความรู้สึกแบบเดิม และทัศนคติที่ว่าเราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
มันต่างกับการมองเห็นอดีตอย่างเข้าใจ
เพราะในขณะเดียวกันเราก็มองเห็นความแตกต่างของช่วงเวลาและการเติบโตของตัวเองจากวันก่อนๆ ไปพร้อมกันด้วย
นั่นทำให้เราไม่จมอยู่กับความรู้สึกแบบเดิมๆ มากเกินไป และรู้สึกมีหวังต่ออนาคต
.
สิ่งที่ผมมักบอกผู้รับบริการเสมอถึงแม้เราจะขุดคุ้ยอดีตไปพร้อมกันมาโดยตลอดคือ
"เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราเรียนรู้จากมัน และเปลี่ยนแปลงปัจจุบันกับอนาคตได้เสมอ"
.
เจษฎา กลิ่นพูล
K. Therapeutist นักจิตวิทยาการปรึกษา
Comments