top of page
ค้นหา

"ถ้าเล่าปัญหาของเราไป จะทำให้เขาเครียดรึเปล่า": มารู้จักสภาวะ Emotional Sharing Burden กัน

ในช่วงที่คุณกำลังประสบกับความเครียด ความกังวล

กำลังมีปัญหา และอึดอัดไปกับมัน ต้องการระบาย

แต่ยังมีความคิดที่ว่า

.

“ฉันไม่อยากเอาปัญหาของฉัน ไปเป็นภาระให้คนอื่น”

“ถ้าเล่าปัญหาของเราไป จะทำให้เขาเครียดรึเปล่า”

“ไม่กล้าที่จะเล่า เพราะกลัวเขาเอาไปคิดมาก”

“ไม่อยากให้เขามาเครียดเรื่องของเรา”

“ไม่อยากเป็นภาระให้คนอื่น”

.

หรือแนวความคิดที่ว่า

คุณกังวลว่า ถ้าเราพูดถึงความทุกข์ของตนเอง

จะทำให้อีกฝ่ายต้องมาแบกรับเรื่องราวของคุณด้วย

ถ้าหากคุณมีความคิด และพฤติกรรมแนวนี้

คุณอาจจะกำลังประสบกับสภาวะ

“Emotional Sharing Burden”

.


Emotional Sharing Burden

คือสภาวะที่ เมื่อบุคคลมีความทุกข์ที่อัดอั้น

หรือกำลังประสบกับสภาวะเครียด และกดดัน

แต่กลับมีความคิดที่ไม่อยากพูดถึงมัน

ไม่อยากระบาย รวมถึงมีพฤติกรรมที่ปลีกตัว

หรืออดทนต่อเรื่องราวเหล่านั้น เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง

หรือเลือกที่จะไม่เล่าเรื่องราวปัญหาของตนเองที่กำลังเผชิญอยู่

เพราะมีความเชื่อว่า ไม่ต้องการจะเป็นภาระกับคนอื่น

หรือทำให้อีกฝ่ายต้องมาเครียด และกังวลเรื่องของตนเองไปด้วย

.

.

หรืออาจกล่าวได้ว่า

กังวลว่าเรื่องราวปัญหาของตนเอง

จะทำให้คนอื่นต้องมากังวล และเครียดไปด้วย

รวมไปถึง มีความคิดว่าคนอื่นก็มีปัญหาของเขาอยู่แล้ว

ตนเองไม่ต้องการที่จะนำปัญหาของตัวเอง

ไปเพิ่ม หรือสร้างเรื่องที่ต้องให้คนอื่นเครียดอีก

.


นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงอีกว่า

ไม่เพียงแต่บุคคลที่กำลังประสบปัญหานี้

ไม่ใช่แค่ต้องการจะเป็นภาระให้แก่คนอื่น

แต่บางครั้งยังมีความคิดที่ว่า ถ้าหากเล่าไป ก็คงจะไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่

ซึ่งจะยิ่งส่งเสริมให้เกิดการปลีกตัว และเก็บความทุกข์เหล่านี้เอาไว้

.

โดยจากการศึกษาพบว่า

บุคคลที่กำลังประสบกับสภาวะนี้

จะพยายามอดทน อดกลั้น กับสภาวะที่ตนเองเจอ

พยายามไม่แสดงออกว่าตนเองกำลังเครียด

หรือแม้แต่ ถ้าหากคนอื่นสังเกตได้ว่าตนเองกำลังเครียด

ก็จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า หรือการเล่าถึงปัญหาที่ตนเองกำลังประสบอยู่

.

.


โดยบุคคลที่กำลังประสบกับสภาวะนี้อยู่นั้น

จะมีความเครียด และความทุกข์ที่ตนเองกำลังเผชิญอยู่แล้ว

ยังต้องเผชิญกับการที่ตนเองต้องพยายามอดทน

เพื่อที่ตนเองจะได้ไม่แสดงออกถึงความทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่

ไม่ให้มันแสดงออกมา หรือได้ระบายให้กับคนอื่น

เพื่อที่จะไม่ต้องการเป็นภาระให้กับคนรอบข้าง หรือคนอื่น

.


โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดสภาวะ Emotional Sharing Burden นั้น

คือการที่บุคคลมีความเห็นอกเห็นใจกับผู้อื่น มากกว่าในตนเอง

ไม่ต้องการที่จะเป็นภาระให้ผู้อื่น หรือมองว่าปัญหาของตนเอง

ก็ควรจะจัดการได้ด้วยตัวเอง ไม่ควรให้คนอื่นต้องมาลำบาก

รวมไปถึงมองว่า ตนเองต้องคอยจัดการตนเอง

ไม่ได้มีใครมาให้ความสำคัญ และเข้าใจความทุกข์ หรือปัญหาของตนเอง

จึงเลือกที่จะเก็บไว้ อดทนและจัดการด้วยตนเองดีกว่า

.

โดยแนวคิด และพฤติกรรมนี้ จะยิ่งทำให้เกิดความเครียดสะสมเพิ่มขึ้นไปอีก

อาจส่งผลให้เกิดสุขภาพทางจิต และสุขภาพทางกายแย่ลง

และยิ่งทำให้บุคคลเกิดความเครียด และอาจทำให้เกิดวงโคจร

ที่ตนเองก็ไม่ระบาย เล่าให้ใครฟัง หรือรวมถึงไม่ขอความช่วยเหลืออีกด้วย

.

.


โดยวิธีการบรรเทาสภาวะนี้

แน่นอนว่า สุดท้ายก็ต้องหาทางระบาย หรือขอความช่วยเหลือจากคนอื่น

แต่แน่นอนว่าจากสภาวะนี้ การมีแนวคิดที่จะแบ่งปันให้คนอื่นเป็นเรื่องที่ยาก

โดยมีการศึกษาว่า บางครั้งเรื่องราวที่ทุกข์ใจ แค่ได้เล่าให้ใครฟัง

ก็สามารถบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ถึงแม้ว่าปัญหาจะไม่ได้ มีการจัดการก็ตาม

.

กล่าวได้ว่าการเล่าถึงปัญหา ความเครียดของคุณสามารถแบ่งเบาคุณได้เหมือนกัน

หรือถ้าหากไม่มั่นใจ ก็สามารถขอความช่วยเหลืออย่างถูกต้องได้จาก

นักจิตวิทยา นักจิตแพทย์ หรือนักบำบัด ได้เช่นกัน

.

.

คุณอาจจะมีความคิดที่ว่า คุณไม่ต้องการจะเป็นภาระให้คนอื่น หรือให้คนอื่นเครียด

แต่จริงๆ คนรอบข้างคุณอาจจะไม่ได้มองว่าคุณเป็นภาระก็ได้นะ

เขาอาจจะแค่ต้องการให้คุณเห็นว่า ในพื้นที่ตรงนี้

เขาพร้อมจะเปิดรับ และให้คุณได้พักผ่อน ได้เล่าเรื่องราวที่คุณกำลังเผชิญอยู่

ให้เขาได้รู้ว่า ตอนนี้คุณเป็นอย่างไรบ้าง เหนื่อยไหม ต้องการอะไรบ้าง

ให้โอกาสคนรัก เพื่อน ครอบครัว และคนรอบข้างได้ช่วยเหลือคุณ

ให้โอกาสกับคนเหล่านั้นได้โอบรับตัวคุณ เป็นกำลังใจให้คุณ

.


ตัวคุณเองก็อย่าลืมโอบรับตัวเอง ให้ได้รู้ว่า การเจอกับความทุกข์เป็นเรื่องปกติ

ให้ได้รู้ว่าที่ผ่านมามันเหนื่อย และหนักหนาขนาดไหน ลองให้ตัวเองได้พัก

และระบายมันออกมาบ้าง ให้ได้รู้ว่าในโลกนี้ก็มีพื้นที่ให้คุณได้พักผ่อน และผ่อนคลาย

ให้ตัวคุณและคนอื่นได้แสดงออกว่า “ไม่ต้องเก่งทุกวัน ก็ยังมีคนรักคุณ”

.

.


เก้าอี้ตัว W

วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

#เก้าอี้นักจิต 

.

References:



ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page