เมื่อมีการพูดถึง “การฆ่าตัวตาย” ในบทสนทนา
ผมเชื่อหว่าหลายคนก็อาจจะเคยรู้สึกว่าหัวข้อนี้
เป็นเรื่องที่อ่อนไหว และน่าอึดอัด
.
“เคยมีความคิดอยากจะแบบ... แบบว่า จบมั้ย พอแล้ว ไรงี้ ว่าไงดี...”
“แล้วเคยแบบว่าไงดี ไม่ค่อยอยากจะพูดเลย แบบไม่อยู่มั้ยอ่ะ?”
“ถ้าเราพูดออกไป จะกลายเป็นชี้นำเขามั้ยนะ?”
“อยากช่วยเหมือนกัน แต่จะพูดคุยยังไงดีนะ?”
.
.
สำหรับคนที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเล่ายังไง
คนที่ฟังจะหนักใจไหม จะลำบากใจรึเปล่า
และสำหรับคนที่รับฟัง ก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่าจะพูดอะไรได้บ้าง
คนที่เครียด มีปัญหา เขาจะฆ่าตัวตายหรือเปล่า
แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะถาม หรือจะพูดคุยยังไงดี
.
เนื่องในวันที่ 10 กันยายน
คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)
ผมจึงใช้โอกาสนี้ ได้นำบทความเกี่ยวกับ บทสนทนาการฆ่าตัวตาย
มาพูดถึงกันครับ
.
บทสนทนาหัวข้อ การฆ่าตัวตาย ไม่ค่อยได้มีการพูดถึงกันมากเท่าไหร่นัก
ในบทสนทนานี้ อาจจะมีหลากหลายความคิด ความรู้สึกที่ตามมา
ทั้งตัวของผู้ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ หรือรวมถึงผู้ที่กำลังรับฟังอยู่ด้วย
“ควรพูดยังไงดีล่ะ”
“ถามตรงๆเลยได้มั้ยนะ”
“ถ้าเล่ามากไป เขาจะเป็นห่วงเรามากเกินไปป้ะนะ”
“ถ้าเราเผลอพูดไม่ดีไป จะทำให้มันแย่กว่าเดิมทำไง”
และอีกมากมาย
.
ทำไมผู้คนถึงหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องการฆ่าตัวตายกันล่ะ
จากการศึกษา ผมขอสรุปได้ว่าผู้คนหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องการฆ่าตัวตายกัน เพราะมีความเกรงกลัวและอายที่ตนเองมีความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้น
กลัวไม่ได้รับการสนับสนุน และการช่วยเหลือ กลัวว่าจะได้รับการปฏิเสธ
รวมถึงกลัวการเป็นภาระให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย และยังมีความรู้สึกเครียดกังวลกับปัญหาที่ตนเองกำลังพบเจออยู่อีกด้วย
.
ซึ่งแน่นอนว่าความรู้สึกเหล่านี้ก็สามารถส่งมาถึงผู้ที่รับฟังด้วย
ในบางครั้งผู้ที่รับฟัง รับรู้ได้ถึงความเครียด และความหนักหน่วงของอีกฝ่าย
จนมีความกังวลว่าอีกฝ่ายจะ ทำอันตรายกับตนเอง หรือจะฆ่าตัวตายไหม
แต่บางครั้งก็จะหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องการฆ่าตัวตายที่ชัดเจน
เนื่องจากมีความเกรงกลัวว่าตนเองจะทำให้อีกฝ่ายเกิดความเครียดมากกว่าเดิมหรือเปล่า
รวมถึงการมีบทสนทนาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายนั้น
จะยิ่งทำให้เหมือนเป็นการชี้นำอีกฝ่ายให้ลงมือทำไหม
.
จากข้อความข้างต้นนี้ อาจเห็นได้ว่าทำไมบทสนทนาเกี่ยวกับ การฆ่าตัวตาย
จึงไม่ค่อยได้มีความชัดเจน และเกิดขึ้นได้บ่อยนัก
เนื่องจากมันเป็นหัวข้อที่อ่อนไหวมากๆ และแน่นอนว่านอกจากข้อความข้างต้นนี้ยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้ บทสนทนาเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
จะไม่ค่อยพูดถึงกัน และชัดเจนมากเท่าไหร่
.
แต่ทุกคนทราบไหมครับ
เรื่องการฆ่าตัวตาย ถึงจะเป็นหัวข้อในบทสนทนาที่คนไม่ค่อยอยากพูดถึง
ซึ่งจริงๆแล้วเป็นอีกหนึ่งในหัวข้อที่ควรได้รับการพูดถึงอย่างมาก
หัวข้อที่คนไม่อยากพูดถึง แต่ควรได้รับการใส่ใจ
.
จากการศึกษาค้นพบว่า การหลีกเลี่ยงบทสนทนาของการฆ่าตัวตาย
จะยิ่งทำให้เกิดความกังวล และความเครียดที่เพิ่มขึ้นได้
เนื่องจากจะยิ่งทำให้รู้สึกว่า
ความคิดฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ผิดแปลก
และจะยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกผิด ความสับสน และความเครียดเพิ่มขึ้นไปอีก
ดังนั้นการพูดคุย การมีบทสนทนาเกี่ยวกับฆ่าตัวตาย
เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติ ทำให้ ความคิดการฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดแปลกสามารถเกิดขึ้น และได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีได้
ถ้าหากได้มีการแบ่งปัน และได้มีการพูดถึง
.
อีกทั้งยังมีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า
ยิ่งมีการสนทนาเกี่ยวกับความเครียด ปัญหา รวมถึงการฆ่าตัวตายนั้น
จะสามารถบรรเทาความคิดเหล่านั้นได้ด้วย
ทั้งยังทำให้บทสนทนานั้นได้ทบทวนขอความช่วยเหลืออีกด้วย
.
รวมถึงมีการศึกษาด้วยว่า การกล่าวถึง การฆ่าตัวตาย
อย่างชัดเจนในบทสนทนาไม่ได้เป็นการ ชี้นำ หรือแนะนำ ใ
ห้คู่บทสนทนานึกถึงการฆ่าตัวตายเป็นทางออก
แต่ในทางกลับกัน การกล่าวถึง หรือการถามว่า
มีความคิดฆ่าตัวตายบ้างไหม เป็นการช่วยเหลือมากกว่า การชี้นำอีกด้วย
.
.
อาจกล่าวได้ว่า บทสนทนาเรื่องการฆ่าตัวตายนั้น แน่นอนว่า
เป็นหัวข้อที่อ่อนไหว และบทสนทนาอาจจะไม่ราบรื่นเท่าไรนัก
แต่อยากจะเชิญชวนให้เป็นอีกหนึ่งในหัวข้อที่ให้มองว่าเป็น “เรื่องปกติ”
ที่สามารถพูดคุยได้ในบทสนทนา เพื่อให้ได้มีการช่วยเหลือ สนับสนุน
รวมถึงได้แบ่งปันแนวทางช่วยเหลือให้คู่สนทนาอีกด้วย
.
.
ความกังวล ความกลัว ที่เกิดขึ้นในบทสนทนา ในหัวข้อ "การฆ่าตัวตาย"
อาจทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่กล้าพูดถึง หรือแบ่งปันได้
แต่อยากให้เชิญชวน ให้มองว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เป็นเรื่องปกติ
ให้มองว่า “การฆ่าตัวตายพูดได้” เพื่อให้ได้รู้ว่า ถึงจะเป็นเรื่องที่หนักหนา
แต่ให้ได้รู้ว่ามีคนพร้อมรับฟัง ช่วยเหลือ พร้อมสนับสนุน
รวมถึงผู้ที่รับฟัง ให้ได้รับรู้ว่าอย่ากังวลว่าจะทำให้คู่สนทนานั้นเครียดมากขึ้น
แค่มีเจตนาที่จะช่วยเหลือ สนับสนุน
แค่นี้ก็เป็นการช่วยเหลือที่สุดยอดมากแล้วครับ
.
.
หากมีการพูดคุย แล้วไม่แน่ใจว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไร
เบื้องต้นสามารถรับฟัง และส่งเสริมให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
ไม่ว่าจะพบเจอกับ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาการปรึกษา และอีกมากมาย
เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง
.
.
เก้าอี้ตัว W
วงศธรณ์ ทุมกิจจ์
#เรื่องชีวิตไม่มีใครคิดสั้น
.
Ref.
Comments