top of page
ค้นหา

“Post-Holidays Blues” หรือ “สภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว”

รูปภาพนักเขียน: Psychologist ChairPsychologist Chair

สวัสดีปีใหม่ทุกคนนะครับ !

.

.

หลังจากได้หยุดยาวมาซักพักแล้ว และได้กลับมาเริ่มทำงาน เริ่มเรียน

คุณมีความรู้สึก ความคิดเหล่านี้หรือเปล่า ?

.

“หงุดหงิดไปกับทุกอย่าง ทั้งๆที่ทุกอย่าง ก็เป็นเหมือนปกติ ในช่วงวันธรรมดา”

“รู้สึกเหงา ถึงแม้ว่าจะมีคนอยู่รอบข้าง”

“ไม่ค่อยมีสมาธิจดจ่อ ไปกับสิ่งที่ต้องทำไปในแต่ละวัน”

“ใจลอย คอยหวนคิดถึงช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา

หรือวันหยุดยาวที่กำลังจะถึง”

และอื่นๆ

.

.

ถ้าหากคุณกำลังหรือเคยประสบกับความคิด

และความรู้สึกเหล่านี้

คุณอาจจะเผชิญกับสภาวะ “Post-Holidays Blues” หรือ “สภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว”

.

.

สภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว คือสภาวะที่พบได้ทั่วไปหลังจากที่เราได้มีวันหยุดยาว

ที่เราได้ใช้ชีวิตพักผ่อน ไปเที่ยว สนุกสนานกับเพื่อนๆ หรือทำกิจกรรมที่เราชอบ

โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องงาน เรื่องเรียน หรือสิ่งที่ตนเองต้องทำมากเท่าไรนัก ยิ่งเรามีความสุข

และเพลิดเพลินไปกับวันหยุดยาวมากเท่าไหร่ ยิ่งมีทำให้มีโอกาสที่จะเกิด สภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว ได้ง่ายขึ้น

.

.

คุณจะรู้สึกว่า คุณกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ยากขึ้น รู้สึกเบื่อหน่าย เหนื่อยง่าย หงุดหงิด และขี้เกียจกว่าเดิม

ในปริมาณงานที่อาจเป็นเรื่องปกติของคุณ คุณอาจกลับรู้สึกว่ามันยากขึ้น และมากขึ้นก็เป็นไปได้

รู้สึกโดดเดี่ยว หรือรวมไปถึงรู้สึกว่า การเข้าสังคมอาจจะเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิดสำหรับคุณนิดหน่อย

.

.

สภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว นั้นเกิดจากการที่ร่างกาย ความคิด และความรู้สึก ชินกับการที่ได้พักผ่อน

ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับชีวิตประจำวันมากเท่าไร และเมื่อต้องกลับมาใช้ชีวิตปกติ ทำในสิ่งที่ตนเองต้องทำ ทำให้เกิดความกังวล และความเครียดขึ้นเพิ่มมากขึ้น จากที่มีน้อยในช่วงหยุดยาว

และด้วยความกังวล และความเครียดที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ทำให้เกิดสภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาว

.

นอกจากนี้ยังมีเรื่องเกี่ยวกับ คุณอาจเบื่อหน่ายกับสิ่งที่คุณต้องทำอยู่แล้ว

และหลังจากได้พักจากเรื่องที่คุณเบื่อหน่าย ในระยะเวลาหนึ่งและต้องกลับมาทำ

ทำให้คุณยิ่งรู้สึกเบื่อหน่าย เหนื่อยไปกับมัน ไม่อยากที่จะทำมากขึ้นกว่าเดิม

.

ไม่เพียงแค่เรื่องของวันหยุดยาว แต่ยังรวมถึงอาหารการกินของคุณที่ผ่านมาด้วย

ได้มีการศึกษาว่าน้ำตาล แอลกอฮอล์ ในช่วงวันหยุดยาวที่คุณกิน(อาจจะมากกว่าปกติ)

และในเมื่อพอพ้นช่วงหยุดยาว คุณกลับมากินปกติมันอาจส่งผลให้คุณรู้สึกพลังงานน้อยลง

เหนื่อยง่ายขึ้น หรือรวมไปถึงหงุดหงิดง่ายอีกด้วย

และยังมีอีกหลายเหตุผลที่อาจทำให้เกิดสภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาวได้

.

.

ทั้งนี้ตามหลักจิตวิทยาแล้ว สภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาวนั้นเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้ถือเป็นโรคทางจิตเวช ส่วนมากสภาวะนี้จะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นอาการนั้นจะหายไปเอง ภายใน 2-3 วัน หรือมากสุด 2-3 สัปดาห์

.

แต่ถ้าหากคุณกำลังประสบกับสภาวะซึมเศร้าหลังหยุดยาวอยู่ และต้องการที่จะบรรรเทามันลง

ได้มีการศึกษาว่า วิธีเหล่านี้สามารถช่วยเหลือบรรเทามันได้


1. ปรับเวลาชีวิตให้แน่นอนมากขึ้น : นั่นคือปรับเวลาการกิน การนอนของคุณให้แน่นอนมากขึ้น ให้เป็นเวลามากขึ้น เพื่อค่อยๆปรับให้ความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกของคุณให้มีระเบียบ เข้าที่เข้างทางมากขึ้น


2. เข้าสังคมที่คุณรู้สึกสบายใจ : ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือแฟน เข้าสังคมที่ทำให้คุณรู้สึกสบายใจ เพื่อให้ลดความเครียด ความกังวลที่มากเกินไป ในชีวิตประจำวันของคุณ


3. หากิจกรรมต่างๆ : การหากิจกรรมเก่าๆ ที่คุณชื่นชอบ หรือแม้แต่หากิจกรรมใหม่ๆ ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ เพื่อให้คุณรู้สึกกลับไปมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ลดความกังวลและความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างที่คุณเผชิญกับสภาวะเหล่านี้


4. ขอความช่วยเหลือ : ขอความช่วยเหลือที่ถูกต้อง จากนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพื่อบรรเทาและแก้ไขสภาวะนี้

.

.

เป็นเรื่องปกติที่ในช่วงที่ได้หยุดยาว ได้พักผ่อน ความกังวลและความเครียดเราจะน้อยลง

และเมื่อต้องกลับมาเผชิญกับความจริงอีกครั้ง จะทำให้รู้สึกน่าเบื่อ เหนื่อยหน่ายกับสิ่งที่ต้องทำ

มันอาจทำให้คุณรู้สึกท้อ เบื่อ หรือไม่อยากทำแล้ว มันเกิดขึ้นได้ และแน่นอนคุณก็อาจจะรู้อยู่แล้วว่า

“มันก็เป็นสิ่งที่ฉันต้องทำ ต้องเผชิญจริงๆนั่นแหละ” ขอให้คุณอย่างน้อยเก็บความทรงจำในช่วงวันหยุดที่แสนวิเศษของคุณ

ได้ช่วยบรรเทาภาระความรับผิดชอบของคุณได้เบาลง เพื่อพร้อมที่จะเผชิญกับความจริงเหล่านี้

รวมไปถึงพร้อมที่จะได้มีวันหยุดยาวต่อๆไป

.

.

สวัสดีปีใหม่อีกครั้งครับ

.

เก้าอี้ตัว W

วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

.

References:



ดู 23 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page