top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPsychologist Chair

Ghosting Part II: "Ghoster"

ผมเคยได้เขียนบทความส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ Ghosting (การเท)

ซึ่งในบทความนั้นจะเน้นถึงเรื่องราวและมุมมองของคนถูกเทนั่นเอง ซึ่งสามารถอ่านย้อนหลังได้จากลิงค์นี้ https://www.psychologistchair.com/post/ghosting

.

.

Ghosting คือการตัดขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนๆหนึ่งโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือการอธิบายใดๆ

โดย Ghosting ไม่ได้จำกัดแค่เป็นความสัมพันธ์ในเชิงคนรักอย่างเดียว อาจจะเป็นเพื่อน หรือที่ทำงานก็ได้

โดยที่เรียกว่า Ghosting ก็อาจจะอธิบายได้ว่าเหมือนกับผีที่โผล่มา แล้วก็หายไปเลย

.

โดยในบทความนี้ผมจะเน้นการพูดถึงเรื่องราวและมุมมอง “คนเท” หรือ “Ghoster” นั่นเอง

.

“การเท” นั้นก็คือการตัดความสัมพันธ์ที่กำลังดำเนินอยู่โดยไม่ได้บอกกล่าว โดย LeFebvre (2019) ได้มีการอธิบายว่าเหตุผลอะไร Ghoster (คนเท) ถึงได้ Ghosting (เท) ดังนี้

1.มันง่าย บางครั้งการที่อะไรมันทำง่ายกว่า ก็คงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า การหายไปเฉย ๆ มันก็แน่นอนว่าง่ายกว่าที่จะต้องเจอกับการพูดคุยที่ไม่ค่อยสบายใจ ยุ่งยาก รวมถึงไปถึงความสัมพันธ์ที่อีกฝ่ายอาจทำให้รู้สึกอึดอัด หรือรู้สึกผิดต่อการตัดสินใจของตนเองได้ รวมไปถึงอาจต้องใช้พลังงานอย่างมาก ดังนั้นการเทไปเลย ก็คงจะง่ายกว่า


2.เริ่มสนใจอีกฝ่ายน้อยลง บางครั้งเหตุผลของการเท

ก็เพราะเริ่มรู้สึกไม่ได้สนใจอีกฝ่ายแล้ว

การหาย หรือการเท อาจดูเป็นแนวทางในการยุติความสัมพันธ์ ที่ตนเองเริ่มหมดความสนใจแล้วได้เหมือนกัน


3.มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่พึงประสงค์ บางครั้งเมื่อพบว่าอีกฝ่ายมีความคิด หรือพฤติกรรมบางอย่างที่ตนเองไม่พึงประสงค์ ที่อาจทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ หรือทำให้รู้สึกไม่ชื่นชอบได้ ซึ่งทำให้รู้สึกไม่ต้องการที่จะทำให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อ บางครั้งการหายไปเลยก็จะเป็นการดีกว่าที่จะฝืนพูดคุยกันต่อ


4.ความปลอดภัย เมื่ออีกฝ่ายเริ่มแสดงถึง “ความน่ากลัว” หรือ “ความแปลก” ที่อาจส่งผลถึงความไม่ปลอดภัยของตนเอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุย และมีปฏิสัมพันธ์กับอีกฝ่ายอีก ซึ่งอาจทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายหรือมีการข่มขู่ก็เป็นไปได้ จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่าที่จะหายไป

.

หลายคนอาจจะมองว่า แล้วทำไมถึงหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า หรือการพูดคุยกันตรงๆ

อาจกล่าวได้ว่าการที่คนเท ได้ยุติความสัมพันธ์ที่กำลังดำเนินอยู่ส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องราวความปลอดภัยของตนเอง ไม่ใช่แค่ทางด้านร่างกาย แต่เป็นทางด้านอารมณ์ของตนเองด้วย

กล่าวได้ว่าการหลีกเลี่ยงที่จะเจอบทสนทนาที่จะต้องผ่านไปด้วยความยากลำบากไม่มีที่สิ้นสุด

รวมถึงอาจจะได้รับผลกระทบถึงอันตรายถึงความปลอดภัยทางด้านการใช้ชีวิต และร่างกาย

คนเทจึงมองว่า การ Ghosting (การเท) อาจจะเป็นทางที่เหมาะสม และปลอดภัยกับตนเองมากกว่า

.

รวมถึงบางครั้งในความสัมพันธ์อาจจะมีช่วงเว้นระยะด้วยความจำเป็นและด้วยช่วงระยะห่างนั้น คนเทอาจจะรู้สึกถึงความกังวล ว่าอีกฝ่ายจะยังคงมีความสนใจอยู่หรือไม่

ถ้าหากยังสานต่อความสัมพันธ์ จะยังมีแนวโน้มในทางที่ดีหรือเปล่า และด้วยความคิดความกังวลต่างๆ

ทำให้คนเทตัดสินใจ เลือกที่จะเท หรือหายไปจากความสัมพันธ์นี้ ด้วยความคิดว่า

“ฉันอาจจะไม่ดีพอสำหรับเขาก็ได้”

.

.

โดย Bahar (2019) ได้กล่าวว่าในการ Ghosting(เท) ไม่เพียงแต่คนถูกเทที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น

คนเทเองก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ดังนี้

1.ความมั่นใจเริ่มหดหาย เริ่มกลัวการเผชิญหน้ามากขึ้น

ไม่เพียงแต่ในเรื่องความสัมพันธ์ แต่ในเรื่องการเข้าสังคมปกติด้วย


2. มีความวิตกกังวลในเรื่องความสัมพันธ์ และความปลอดภัยของตนเองทั้งทางด้านอารมณ์และร่างกาย

และอื่นๆ

.

.

กล่าวได้ว่าในบางครั้งการยุติความสัมพันธ์แบบไม่บอกกล่าว หรือการเท ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องง่าย

หรือในบางครั้งก็จำเป็นสำหรับคนเทก็ตาม แต่ก็ยังคงมีผลกระทบต่อตัวคนเทได้เหมือนกัน

แน่นอนว่า การที่ต้องเผชิญหน้า หรือการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าแต่ในความสัมพันธ์และในโลกความเป็นจริงไม่ได้เป็นเรื่องที่ง่าย

หรือตรงไปตรงมาแบบนั้นเพราะในท้ายที่สุด

“เราควรจะใส่ใจความปลอดภัยทางด้านอารมณ์ และร่างกายของตนเองก่อน”

.

.

เพื่อนๆล่ะครับ เคยมีประสบการณ์เทใครบ้างรึเปล่า ?

แล้วมีเหตุผลในการเทครั้งนั้นยังไงบ้าง?

.

เก้าอี้ตัว W

วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

.

.

Ref.


ดู 8 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Σχόλια


bottom of page