top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPsychologist Chair

"Ghosting"

“ตอนแรกยังคุยกันด้วยกันดีอยู่เลย อยู่ๆก็เงียบไปเลย”


“คุยกันแทบทุกวัน แต่อยู่มาวันนึงก็หาย ไม่อ่าน ไม่ตอบ”


“อยู่ดีๆก็หาย ไลน์ไม่ตอบ”

.

.

ผมเชื่อว่าใครๆหลายคน อาจจะคุ้นเคย กับความสัมพันธ์ที่ทำให้ต้องมีความคิดเหมือนประโยคข้างต้น

ที่ในช่วงแรกของความสัมพันธ์ทุกอย่างกำลังไปได้ดี

แต่จู่ๆ อีกฝ่ายก็หายไปเฉยๆ ทิ้งให้เราสงสัยว่า “เอ๊ะ มันเกิดอะไรขึ้นกันนะ?”


ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Ghosting”

.

.

Ghosting คือการตัดขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนๆหนึ่งโดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือการอธิบายใดๆ


Ghosting ไม่ได้จำกัดแค่เป็นความสัมพันธ์ในเชิงคนรักอย่างเดียว อาจจะเป็นเพื่อน หรือที่ทำงานก็ได้

โดยที่เรียกว่า Ghosting ก็อาจจะอธิบายได้ว่าเหมือนกับ ผีที่โผล่มาหลอกช่วงแรกๆแล้วก็หายไปเลยก็ได้

.

.

การที่คน Ghosting นั้นอาจจะมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะไม่มั่นใจ หรือขาดความกล้าในการเผชิญหน้า


แต่ในบทความนี้ผมจะเน้นไปการพูดถึงผลกระทบของผู้ที่ถูก Ghosting (หรือภาษาไทยอาจจะเป็น”ถูกเท”)

โดยจากการศึกษาของ Soerio (2019) ได้กล่าวเบื้องต้น

ผลกระทบของผู้ที่ Ghosting มีดังนี้


1.รู้สึกถูกหักหลัง และเป็นเรื่องยากที่จะรู้สึกไว้ใจใครได้อีก


2.ความมั่นใจในตัวเองลดลง เพราะไม่แน่ใจว่าตนเองทำผิดเรื่องอะไร


3.ไม่สามารถก้าวผ่านความสัมพันธ์นี้ได้ เนื่องจากยังไม่มั่นใจว่าตกลงความสัมพันธ์นี้จบหรือยัง


4.มีความสับสนและค้างคา และเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีอยู่ของตนเองและยังมีผลกระทบอย่างอื่นอีกมากมาย

.

.

อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ถูก Ghosting จะทำให้เกิดความสงสัยในตนเอง และความสัมพันธ์ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ เนื่องจากไม่เคยได้รับคำตอบ คำเตือน หรือคำอธิบายเลยว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมนี้ความสัมพันธ์ถึงได้จบลงจึงทำให้เกิดความสับสน คำถามที่มากมาย ซึ่งบางครั้งอาจจะรวมไปถึงสงสัยในตัวเอง และโทษตัวเองด้วยว่าเป็นเพราะเราเหรอ

“เราทำอะไรผิดไปรึเปล่า ?”

“เราไม่ดีพอเหรอ ?”

และคำถามอีกมากมาย


ซึ่งแน่นอนว่าก็จะไม่รู้เหมือนกันว่าจะได้คำตอบหรือเปล่า

ซึ่งผลกระทบเหล่านี้อาจส่งผลให้บุคคลนั้นมีความมั่นใจและนับถือในตนเองน้อยลงได้ รวมไปถึงอาจไม่กล้าที่แสดงออกที่จะพบเจอบุคคลใหม่ๆ เนื่องจากความมั่นใจที่หายไป และยังคงกังวลอยู่

.

.

โดยในการจัดการ และบรรเทาผลกระทบของการถูก Ghosting นั้นผมได้ทำการศึกษาและพอสรุปได้ดังนี้


1.ทำความเข้าใจกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น อาจจะไม่ต้องเข้าใจถึงสถานการณ์ แต่ให้เข้าใจว่าตัวเองรู้สึกเจ็บปวด


2.ได้เล่า ได้ระบายถึงความรู้สึกค้างคาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ปลดปล่อยสิ่งที่ทำให้คุณกังวลออกมาบ้าง


3.ให้เวลากับความเจ็บปวดเหล่านี้ ให้ได้รู้สึกว่าก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ก็จะผ่านไป


4.สร้างความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง บอกตัวเองว่าไม่เป็นไร และเรียนรู้จากเรื่องราวเหล่านี้


5.ขอความช่วยเหลือจากสังคมรอบข้าง ไม่ว่าจะเพื่อน พ่อแม่ หรือรวมไปถึงพบเจอกับนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์

.

.

จริงอยู่ อาจจะยังคงมีคำถามอะไรค้างคามากมายว่าตกลงมันคืออะไรกันแน่จนคุณอาจจะเริ่มสงสัยในตัวคุณเองว่า เพราะเราไม่ดีพอเหรอ มันอาจจะมีบางเรื่องที่คุณทำผิดจริงก็ได้ หรืออาจจะไม่มีเลยก็เป็นไปได้

แต่การที่คุณทำเรื่องผิดพลาด ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นคนที่ไม่ดี หรือดีไม่พอ


อย่าให้ความสัมพันธ์ที่ค้างคา หรือไม่ได้เรื่องแบบนี้ ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณไม่สามารถไปต่อได้หยุดพัก เรียนรู้ซักนิด และรับรู้ว่าคุณเองก็ดีพอที่จะได้รับความรักดีๆเหมือนกันนะ

.

.

แล้วเพื่อนๆมีเรื่องราวที่เคยถูกเทที่อยากเล่าให้ฟังบ้างไหมครับ ?

.

เก้าอี้ตัว W

(วงศธรณ์ ทุมกิจจ์)

.

References:

Hosie, R. (2018, August). I tracked down all the men who’ve ghosted me and this is what happened. Retrieved from https://www.independent.co.uk/.../ghosting-men-dating...

Popescu, A. (2019, January). Why people ghost and how to get over it. Retrieved from https://www.nytimes.com/.../why-people-ghost-and-how-to...

Samakow, J. (2017, December). Ghosting: The 21st-century dating problem everyone talks about, but no one knows how to deal with. Retrieved from https://www.huffpost.com/entry/ghosting-dating-_n_6028958

Soeiro L. (2019, February). 7 Essential Psychological Truths About Ghosting Why "ghosting" hurts so much, why people do it, and how you can get over it. Retrieved from https://www.psychologytoday.com/.../7-essential...



ดู 28 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page