top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPsychologist Chair

“Cherophobia” - อาการกลัวความสุข


.

“ฉันไม่ชอบที่จะมีความสุขมากเกินไปเพราะปกติแล้วมันมักจะตามมาด้วยความเศร้าเสมอ”

“เรื่องดีๆ มักจะตามมาด้วยเรื่องแย่ๆ ตลอดแหละ”

.

ความคิดเหล่านี้ หรือความเชื่อเหล่านี้ ที่ว่า

“ไม่กล้าที่จะมีความสุขมากจนเกินไป”

จนไม่อยากที่จะเพลินเพลินกับความสุข ความสนุกสนาน

จนถึงขั้นกับการ “กลัวการมีความสุข”

.

สภาวะกลัวความสุขนี้ที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “Cherophobia”

โดยคำนี้นิยามเริ่มต้นมาจากคำว่า “Chero” (เชอโร)

ที่แปลว่า เพลิดเพลินกับความสุข

โดยบุคคลที่เผชิญกับสภาวะนี้ส่วนมากจะพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มองว่าจะทำให้ตนเอง สนุกสนาน หรือมีทำให้ตนเองมีความสุข ไม่ใช่แค่หลีกเลี่ยงกิจกรรมเท่านั้น

ยังคงหลีกเลี่ยงให้ตนเองได้รับรู้ ซึมซับ ความรู้สึกว่าตนเอง กำลังสนุกสนาน หรือ มีความสุขอยู่ด้วย

.

ทั้งนี้ในปัจจุบันสภาวะกลัวความสุขนั้นในการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชตาม DSM-5 ถือว่ายังไม่ได้จัดเป็นโรค

แต่ผู้เชี่ยวชาญทานด้านสุขภาพจิตหลายท่านได้กล่าวถึงสภาวะนี้ค่อนข้างมาก

และกล่าวว่ามันเป็นสภาวะรูปแบบหนึ่งของ โรควิตกกังวล

.

Gilbert (2012) ได้พัฒนามาตรวัด “ความกลัวการมีความสุข”

เพื่อที่จะสามารถคาดการณ์ว่าบุคคลเหล่านั้น

อยู่ในสภาวะกลัวความสุข หรือไม่ โดยมีดังนี้

-เชื่อว่าการมีความสุขจะทำให้คุณเป็นคนไม่ดี

-เชื่อว่าการมีความสุขจะทำให้เกิดเรื่องแย่ๆตามมา

-เชื่อว่าไม่ควรแสดงความสุขออกมาเพราะจะทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี

.

โดยสำหรับผมแล้วสามารถอธิบายถึงสภาวะนี้ให้เห็นภาพอย่างง่าย ๆ

ลองจินตนาการว่าตนเองกำลังปีนเขาเพื่อไปชมวิวที่สวยงาม

ซึ่งแน่นอนตามคำที่เขากล่าว “ยิ่งสูง วิวยิ่งสวย”

และเป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้วว่า “ยิ่งสูง ตกลงมาก็ยิ่งเจ็บ”

ในขณะที่คุณเองก็อยากเพลิดเพลินกับ วิวที่สวยงาม

คุณเริ่มเกิดความรู้สึกกลัวว่าต่อให้ วิวสวยมากขนาดไหน

การตกลงมาจากความสูงขนาดนั้น มันต้องเจ็บมากแน่ๆ

ซึ่งด้วยความกลัวการเจ็บปวดนั้น ทำให้คุณคิดว่า

บางทีการที่จะได้เพลิดเพลินกับวิวเหล่านั้น

อาจจะไม่คุ้มหรอก

ไม่ใช่แค่กังวลถึงความกลัวเจ็บเท่านั้น แต่ยังคงกังวลว่า

ถ้าฉันมีความสุขคนอื่นจะโอเคมั้ย จะยินดีรึเปล่า

จะมองว่าฉันน่าหมั่นไส้มั้ยนะ น่ารำคาญรึเปล่า

ก็เลยตัดปัญหาโดยการ

งั้นฉันหลีกเลี่ยงการมีความสุขละกัน

.

โดยสภาวะนี้สามารถจัดการได้ดังนี้

-การฝึกความคิด ความรู้สึกให้อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับความสุข ความเพลิดเพลินที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ที่เกิดขึ้น

-ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ให้เขาได้รับรู้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นของคุณ ได้ให้โอกาสให้คนอื่นได้ช่วย

-ขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา โดยการบำบัดที่ดีสุดคือ CBT(Cognitive Behavioral Therapy) ซึ่งเป็นการจัดการกับความคิด ความเชื่อที่เกิดขึ้น

.

สภาวะกลัวความสุขส่วนมากมาจากบุคคลที่แค่ต้องการที่จะปกป้องตัวเองจากความเจ็บปวด

เขาอาจจะเคยเจอกับเรื่องราวเลวร้ายมาก่อน จนกลัวว่าถ้าตัวเองเพลิดเพลินมากเกินไป

จะต้องเจ็บปวดอีกมั้ย มันจะดีจริงๆเหรอ ฉันคู่ควรจริงๆเหรอ กับความสุขนี้

แล้วถ้ามีเรื่องร้ายเกิดขึ้นอีกล่ะ?

.

เป็นคำถามที่ไม่สามารถมีใครตอบได้จริงๆ ว่าถ้าหากคุณมีความสุขแล้ว

อะไรจะยืนยันว่าจะไม่มีสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้น คุณจะมีความสุขแบบนี้ได้มากน้อยอีกแค่ไหน

แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันคือ ณ ช่วงนั้นเวลานั้น คุณได้มีความสุข

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับคุณ มันเกิดขึ้นแล้ว

อย่าใจร้ายกับตัวเองนักเลย

อย่ากลัวที่จะให้ตัวเองได้มีความสุข

ให้อ่อนโยนกับตัวเองบ้าง ได้ให้โอกาสตัวเองได้รับรู้ว่า

การมีความสุขนั้นบางทีมันก็คุ้มค่า

.

เก้าอี้ตัว W

วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

.

Reference:

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). American Psychiatric Publishing.

Gilbert, P., McEwan, K., Gibbons, L., Chotai, S., Duarte, J., & Matos, M. (2012). Fears of compassion and happiness in relation to alexithymia, mindfulness, and self‐criticism. Psychology and Psychotherapy: Theory, Research and Practice, 85(4), 374–390.

Joshanloo M, et al. (2014). Aversion to happiness across cultures: A review of where and why people are averse to happiness. DOI:10.1007/s10902-013-9489-9

Joshanloo, M. (2013). The influence of fear of happiness beliefs on responses to the satisfaction with life scale. Personality and Individual Differences, 54(5), 647–651.

ดู 12 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page