top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPsychologist Chair

5 วิธีลดความกังวลพนักงานใหม่

การเริ่มงานใหม่เป็นเรื่องที่ปกติมากๆ ที่จะมีความกังวลเกิดขึ้น

มีความเครียด ความกังวล มากมายที่เกิดขึ้นในการเริ่มงานใหม่

“ทุกคนในทีมดูรู้เรื่องงานมากกว่าเรา

“ทุกคนในทีมดูมีความเข้ากันได้มากกว่าเรา

“เราจะสามารถทำงานนี้ได้ดีไหมนะ”

ผมเชื่อว่าคนที่เริ่มงานใหม่น่าจะเคยมีความคิดเหล่านี้บ้าง

.

.

อันที่จริง ในการเริ่มงานใหม่นั้นเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก

จากการสำรวจ 53% ของคนทำงาน (Karston, 2009) พบว่า "การเริ่มงานใหม่เป็นอะไรที่น่ากลัวมาก น่ากลัวยิ่งกว่าการอุ้มงู หรือการดิ่งพสุธาซะอีก"


.

เป็นเรื่องปกติที่เมื่อมนุษย์ได้ไปอยู่ในสังคมใหม่ๆ

ไม่ว่าจะสังคมไหนก็ตาม รวมถึงที่ทำงาน

จะเกิดความกังวล และความเครียดเกิดขึ้น

และเมื่อมีความกังวลและความเครียดที่มากเกินไป

อาจส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลงได้

.

ผมจึงขอโอกาสในบทความนี้ได้แนะนำแนวทาง

ซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้ได้ทั้งสำหรับตัวพนักงานใหม่เอง

และรวมไปถึงองค์กร หรือทีมงานที่มีพนักงานใหม่เข้ามาอีกด้วย

5 วิธีที่สามารถลดความกังวลให้กับพนักงานใหม่


1. ความเห็นอกเห็นใจ

ให้รับรู้ถึงความกังวลที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่จากตัวพนักงานใหม่เอง แต่รวมถึงคนในองค์กรเองด้วย คอยปรับพื้นฐานความเข้าใจ การเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน รับรู้ว่าการเริ่มงานใหม่ หรือมีพนักงานใหม่เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น น่ากังวล และมีความเครียดเกิดขึ้นได้ คอยส่งเสริมและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดแรงผลักดัน การเรียนรู้ และความคุ้นชินมากขึ้น


2. ชื่อ

เมื่อเข้ามาสู่สังคมที่ทำงานใหม่ แน่นอนว่าก็ต้องพบเจอกับผู้คนหน้าใหม่ ชื่อใหม่ตามมาด้วย โดยการจำชื่อ และหน้าใหม่ สำหรับบางคนอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่มีการศึกษาพบว่า การทักทายด้วยรอยยิ้ม และพูดด้วยชื่อได้อย่างถูกต้อง สามารถสร้างความประทับใจ และทำให้ความสัมพันธ์นั้นมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะพนักงานใหม่ หรือองค์กร การจดจำชื่อและใบหน้า จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ลดความกังวลได้


3. การมีส่วนร่วม

การเริ่มงานใหม่ พนักงานใหม่อาจรู้สึกว่าตนเองเป็นคนนอก ที่เพิ่งเข้ามาในสังคมที่หล่อหลอมไว้อยู่แล้ว อาจทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนคนนอก หรือส่วนเกินได้ ดังนั้นการพาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคมของงานใหม่นั้น สามารถทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในสังคมของงานใหม่ได้มากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงพูดถึงการทำงานร่วมกัน แต่หมายถึงกิจกรรมอื่นๆด้วย เช่น การพักกินข้าว การสังสรรค์ หรือแม้แต่แค่การจับกลุ่มพูดคุยเรื่องเล็กๆน้อยๆ โดยทางองค์กรเองก็สามารถชักชวนพนักงานใหม่ไปร่วมกิจกรรมเหล่านี้ด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่การเชิญชวนพนักงานใหม่มาร่วมนั่งโต๊ะร่วมกันก็สามารถช่วยได้เหมือนกัน เพื่อทำให้เกิดความคุ้นชิน และทำให้พนักงานใหม่รับรู้ได้ถึงความเป็นส่วนร่วมของทีม


4. การเรียนรู้และความคาดหวัง

พูดคุยถึงการเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายในการทำงานให้ชัดเจน เพื่อมองเห็นเป็นภาพเดียวกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ และการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อป้องกันพนักงานใหม่เกิดความสับสน ว่าควรจะต้องไปในทิศทางใด สื่อสารถึงจุดมุ่งหมายของงานในองค์กร รวมถึงจุดมุ่งหมายของตนเองในฐานะพนักงานใหม่ที่เพิ่งเข้ามาร่วมในองค์กร เพื่อทำให้เกิดมาตรฐานในการทำงานที่ชัดเจน รวมถึงเป้าหมายที่สามารถช่วยกัน การเห็นเป้าหมายชัดเจนจะทำให้เกิดความสับสน และความกังวลน้อยลงได้


5. การดูแลขั้นพื้นฐาน

ความกังวล ความเครียด ในการเริ่มงานใหม่เป็นเรื่องปกติ ดังนั้น การดูแลขั้นพื้นฐานจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมงการทำงาน จำนวนงานที่ต้องรับผิดชอบอย่างสมเหตุสมผล รวมไปถึงบรรยากาศในการทำงาน เพื่อทำให้พนักงานใหม่ รวมถึงพนักงานเดิม รู้สึกได้รับรู้ถึงการดูแลที่องค์กรจัดเตรียมไว้ให้ เพื่อที่จะทำให้พนักงานได้รับรู้ถึงบรรยากาศที่ปลอดภัยในการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และคลายความกังวลในส่วนของงาน และสามารถที่จะจดจ่อกับการจัดการ ความเครียด และความกังวลของพนักงานใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

.

.

สำหรับการจัดการความเครียด และความกังวลสำหรับพนักงานใหม่นั้น

ได้มีการศึกษาว่า ยิ่งได้รับการจัดการได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากเท่าไหร่

ประสิทธิภาพในการทำงานของทีมนั้นจะเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็วมากเท่านั้น

รวมถึงจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพสภาพแวดล้อมในการทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย

หรือสำหรับบุคคลที่พบว่าตนเองมีความเครียด และความกังวลที่มากเกินไป

อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

.

แน่นอนว่าจาก 5 วิธีข้างต้นแล้วนั้น

ยังคงมีอีกหลายหลายวิธีที่สามารถลดความกังวลของพนักงานใหม่ลงได้

แล้วเพื่อนๆล่ะครับ มีวิธีที่ลดความกังวลในการทำงานใหม่ยังไงกันบ้าง ?

.

เก้าอี้ตัว W

วงศธรณ์ ทุมกิจจ์

.

Ref.

Karsten I. Paul, Klaus Moser, Unemployment impairs mental health: Meta-analyses, Journal of Vocational Behavior, Volume 74, Issue 3, 2009, Pages 264-282

Brooks, A. W. (2014). Get excited: Reappraising pre-performance anxiety as excitement. Journal of Experimental Psychology: General, 143(3), 1144–1158.


ดู 10 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page