.
นักจิตวิทยา/นักจิตบำบัดด้านสัมพันธภาพ หรือ Interpersonal Therapy (IPT) เชื่อว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดปัญหาและปัจจัยที่ทำให้ปัญหายังคงอยู่ในกลุ่มอาการทางจิตเวชต่างๆ ล้วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับเรื่องของความสัมพันธ์ของคนเรา โดยเฉพาะท่าทีของเราต่อสถานการณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด
นักจิตวิทยาที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้จึงให้ความสนใจกับการช่วยเหลือด้านการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสัมพันธภาพของผู้รับบริการด้วยวิธีการต่างๆ และแบ่งธีม (theme) ของปัญหาออกเป็น 4 รูปแบบเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ได้แก่
1. การสูญเสีย (grief) 2. ความขัดแย้ง (role dispute) 3. การเปลี่ยนสถานะ (role transition) 4. การขาดมิตร (interpersonal deficit) .
โดยแนวทางการทำจิตบำบัด/การปรึกษาทางจิตวิทยาตามความเชื่อของทฤษฎีนี้มีงานวิจัยรองรับจำนวนมากอย่างเป็นทางการว่า เป็นอีกหนึ่งในแนวทางการทำจิตบำบัดที่มีประสิทธิภาพต่อการช่วยเหลือคนที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้า ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการช่วยเหลือให้ผู้รับบริการสามารถรับมือกับสถานการณ์ด้านความสัมพันธ์ ที่เป็นทั้งต้นเหตุ และเป็นตัวส่งเสริมหรืออุปสรรคของการดีขึ้นจากปัญหาทางจิตใจ ได้ดีมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ IPT ยังสามารถช่วยเหลือผู้รับบริการในประเด็นทางจิตเวชด้านอื่นๆ นอกจากโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย เช่น โรควิตกกังวล, ความผิดปกติทางการกิน และ ไบโพล่าห์ เป็นต้น
การสูญเสีย (Grief)
ความขัดแย้ง (Role Dispute)
การเปลี่ยนสถานะ (Role Transition)
การขาดมิตร (Interpersonal Deficit)
.
เก้าอี้ตัว J
เจษฎา กลิ่นพูล
นักจิตวิทยาการปรึกษา
Comments